วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

10 เคล็ดลับพิชิตสูตรคำนวณ

1. ปิดคอมพิวเตอร์ ปิดทีวี เพลง หรือสิ่งเร้าที่เราคิดว่า เราอ่านหนังสือนานไม่ได้แน่ๆ ไม่มีสมาธิแน่ๆ ให้ปิดไปเลย หรือนำมันไปไกลๆเลย

2. ห้ามนั่งอ่านหนังสือ หรือนอนอ่านหนังสือบนเตียงเด็ดขาดดดด!! เพราะรับรองได้เลยว่า คุณอ่านไปไม่ถึง 2 ชั่วโมง หนังตาของเราอาจจะเริ่มปิดก็เป็นได้

3. เตรียมหนังสือพวกที่เป็นตะลุยโจทย์ ,หนังสือเรียน ,หนังสือคู่มือที่มีเนื้อหาบทเรียน ,หนังสือสรุปสูตรในแต่ละบท

4. ขอสมุดคู่ใจ ที่เราคิดว่าชอบเล่มนี้ อยากเขียนลงไป อยากพกติดตัว จะมีเส้นหรือไม่มีเส้นก็ได้ตามความถนัดของแต่ละคนเลย

5. เตรียมปากกาสี,ปากกาเน้น ไว้ข้างๆ กายเลย เพื่อช่วยในการจดจำ น่าอ่านอีกด้วย
6. เมื่อเตรียมอุปกรณ์ ครบพร้อมหมดแล้ว ขอให้คุณหลับตานั่งนิ่งๆ สัก 3-5 นาที หรือจะเปิดเพลงบรรเลงเบาๆ หรือเพลงโมสาร์ท หลับตานั่งฟังสัก 1 เพลงจบก็ได้

7. เปิดหนังสือเรียน หรือหนังสือคู่มือ ที่มีเนื้อหาของบทเรียนที่เราจะอ่าน แล้วเริ่มจดสูตร หรือข้อความสรุป ข้อความสำคัญเขียนแบบสั้นๆ และสรุปอย่างได้ใจความ ลงไปในสมุดเล่มโปรด แล้วสามารถนำปากกาสีมาเขียนมิกส์กันให้น่าอ่านได้ด้วย ข้อความไหนสำคัญก็ให้ใช้ปากกาเน้นไว้เลยย

สำหรับบางคนที่ไม่ชอบอ่านแล้วต้องมานั่งสรุปในสมุด ก็สามารถใช้ปากกาสีขีดใต้ข้อความสำคัญ หรือใช้ปากกาเน้นข้อความลงไปในหนังสือคู่มือหรือหนังสือเรียนเลยก็ได้

8.เมื่อได้เนื้อหาสาระสำคัญๆ รวมถึงสูตรต่างๆแล้ว ก็ขอให้ลองนั่งท่องจำสักพักนึง จนคิดว่าน่าจะจำได้แล้ว และลองปิดหนังสือ ปิดสมุด เขียนสูตรที่เราจำได้,ข้อความหรือทฤษฎีที่เราท่องไว้นั้น มาเขียนในเศษกระดาษดูหลังจากนั้นตรวจทานและเช็คดูในหนังสือว่า ตรงกันกับที่เราเขียนไหม สูตรครบหรือเปล่า ทฤษฎีแม่นจริงไหม

9. เมื่อเราจำสูตร ทฤษฎี ข้อความที่เราสรุปได้แล้ว ก็นำหนังสือตะลุยโจทย์มานั่งทำโจทย์ไปเลย หากลืมสูตรก็เปิดดูสูตรนั้นอีกครั้ง และทำโจทย์ที่ใช้สูตรนั้นหลายๆ ข้อ มันจะทำให้เราสามารถจำสูตรได้เองอัตโนมัติ บางทีโจทย์แต่ละข้อนั้น ก็จะมีการพลิกแพลงสูตรด้วย เพราะฉะนั้นต้องฝึกทำโจทย์หลายๆ แนว หลายๆ ข้อ ย้ำ!! สูตรและทฤษฎีต้องจำและแม่นจริงๆด้วยนะ

10. เมื่อตะลุยฝึกโจทย์ไปแล้วจนเราเริ่มจำสูตรได้จริงๆ เริ่มรู้แนวโจทย์ของแต่ละบทแต่ละสูตรแล้วขอให้คุณลองเขียนทฤษฎี สูตรทั้งหมด ข้อความที่สำคัญๆ ลงในกระดาษว่างๆ 1 แผ่น เขียนเท่าที่จำได้
"แล้วลองคิดสิว่า ที่เราจำได้เท่านี้ จะดีพอไปสู่การสอบได้แล้วหรือยัง"

หากยัง ขอให้อ่านหนังสือ และตะลุยโจทย์เป็นเรื่องๆ ต่อไป เพราะยังไงถึงแม้เราทำแล้วผลออกมาเราอาจจะสอบตก แต่เราอย่าได้เสียใจ เพราะอย่างน้อยเราได้เต็มที่กับสิ่งที่เราทำไปแล้ว และอย่าท้อแท้ สิ้นหวังได้ง่ายๆ เพราะยังไงคนที่จะประสบความสำเร็จได้ คงไม่พ้นความพยายาม


อ่านต่อ : http://www.dek-d.com/content/education/18108/10-เคล็ดลับพิชิตสูตรคำนวณ.php#ixzz1CccV67Xe

3 ช่วงเวลาอ่านหนังสือ ชนะเลิศชัวร์


ช่วงแรก ช่วงก่อนเปิดเทอมหรือช่วงปิดเทอม

เป็นเวลาแห่งการช่วงชิงความรู้ที่ดีที่สุด หยิบหนังสือเรียนออกมาทั้งหมด วางไว้มุมหนึ่งของโต๊ะ เปิดอ่านวันละนิดละหน่อย ทำความเข้าใจ แม้จะงงๆ อยู่ แต่ก็ไม่เป็นไร แค่ได้อ่านก็พอแล้ว

ช่วงที่สอง ช่วงก่อนไปโรงเรียนหรือช่วงก่อนเวลาเรียน

ลองตื่นเช้ากว่าปกติสักครึ่งชั่วโมงเพื่อมาอ่านบทเรียนที่ต้องเรียนในวันนี้ สักยี่สิบนาทีก็พอ อีกสิบนาทีทำตัวขี้เกียจเพื่อให้สมองได้พักผ่อน(ชอบจัง) แบบว่าอ่านแบบชิวๆ สบายๆ ไม่ต้องเคร่งเครียด หรืออาจจะอ่านก่อนเวลาชั่วโมงเรียน แต่ไม่อยากจะแนะนำสักเท่าไหร่สำหรับคนที่เรียนชั่วโมงต่อชั่วโมง สำหรับคนที่เรียนแบบชั่วโมงนี้เรียน ชั่วโมงนี้ว่าง เหมือนโรงเรียนของต่างประเทศที่เข้าเรียนเป็นวิชาๆ หรือระดับมหาวิทยาลัยใช้ได้ค่ะ แต่อย่าเครียดจนเกินไป แค่อ่านให้รับรู้ว่าเราอ่านมาแล้วก็พอ

ช่วงที่สาม ช่วงเย็นหลังเลิกเรียน

อันนี้รู้สึกจะไม่ได้จัดอยู่ในหมวดทำความเข้าใจก่อนเข้าเรียน (อิอิ) แต่ถือว่าจำเป็นมากโข เพราะเป็นการทบทวนไม่ให้เราลืมสิ่งที่เพิ่งเรียนไป อ่านแค่พอระลึกชาติก็พอ อย่าเครียดเด็ดขาดเลย


อ่านต่อ : http://www.dek-d.com/content/education/18461/3-ช่วงเวลาอ่านหนังสือ-ชนะเลิศชัวร์.php#ixzz1CcbCiV9C

ว้าว "สมการคณิตศาสตร์" บอกรักได้ด้วย..

สำหรับเรื่องเรียนๆ จะไปเกี่ยวกับเรื่องรักๆได้ยังไง พี่แนนก็หามาให้เกี่ยวจนได้ค่ะ อย่างวันนี้ พี่แนนมีวิธีบอกรักแบบแนวๆ แต่เป็นแนววิชาการนิดๆ ค่ะ ด้วยการบอกรักแบบ "คณิตศาสตร์" โห แค่ได้ยินก็ยากแล้ว แต่วิธีนี้เหมาะสำหรับเนียนๆ ค่ะ แบบว่า แอบปิ๊งเด็กเรียน เด็กเนิร์ด ที่เผอิญเข้าตา ก็แบบไปขอให้สอนการบ้านข้อนี้หน่อย ประมาณนี้เลยค่ะ เริ่มสนใจกันแล้วใช่ไหมเอ่ย??

การบอกรักแบบคณิตศาสตร์ คือการบอกรักด้วย "สมการ" ค่ะ ซึ่งมีหลายสมการเลยหล่ะ เอ...แล้วมันจะบอกรักได้ยังไง มาดูตัวอย่างแรกกันคะ

โจทย์ สมการนี้คือ




กราฟนี้หวานสุดๆนะคะ แต่ไม่ได้มีแค่สมการเดียวนะคะ ยังมีอีกหลายแบบให้ชาวเด็กดีนำไปใช้กันด้วย ตามนี้เลยค่ะ


ชาวเด็กดีได้ดูแล้ว นำไปลองใช้กันได้นะคะ แบบว่ายื่นสมการไปให้คนที่เราหมายตาเลย อาจจะใช้เวลานาน ก็เให้เค้าใช้ความพยายามกับเรานะคะ เวลาเค้าเห็นสมการนี้ ก็จะคิดถึงแต่เราตลอดๆ (ฮ่าๆ) หรือถ้าใจร้อน ก็แอบเอาเฉลยไปให้เค้าดูก็ได้ .....เป็นการบอกรักอีกแนว ที่แฝงด้วยความรู้นะคะเนี่ย อิอิ ขอให้มีความสุขกันทุกคนนะคะ โย่ว !!!

อ่านต่อ : http://www.dek-d.com/content/education/19079/ว้าว-สมการคณิตศาสตร์-บอกรักได้ด้วย...php#ixzz1CcZJau6G

พี่ครับ ผมไม่ใช่ปลา!!!


สัตว์พวกนี้ถ้าดูในแบบชีววิทยา ก็จะจัดเจ้าพวกนี้อยู่อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) ค่ะ ซึ่งจะมีการจำแนกเป็นไฟลั่มไปอีก โดยใช้ลักษณะสำคัญ คือ จำนวนชั้นของเนื้อเยื่อ ช่องภายในตัว ปล้องขา ลำตัว ชนิดของท่อทางเดินอาหาร สมมาตร (symmetry) ของลำตัว ชนิดของระบบไหลเวียน และการพัฒนาของระบบอื่นๆ ซึ่งมี 10 ไฟลั่มด้วยกัน เมื่อแยกจัดเจ้าพวกนี้อยู่ในไฟลั่มต่างๆแล้ว จะรู้เลยค่ะ ว่าต่างจากปลา เช่น

- วาฬ โลมา 3 ชนิดนี้จะจัดอยู่ในไฟลั่มเดียวกันค่ะ คือ ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata) ซึ่งบรรพบุรุษเป็นสัตว์บกที่วิวิฒนาการลงน้ำ รูปร่างภายนอกคล้ายปลา ก็เลยโดนเรียกปลาซะหมด

- ดาว จัดอยู่ในไฟลัมอีคิโนเดอร์มาตา (Phylum Echinodermata) เป็นสัตว์ทะเลทั้งหมดค่ะ พอตัวเต็มวัยตัวจะมีขนาดสมมาตรรัศมี ตัดแบ่งครึ่งได้เท่ากันเป๊ะ มีระบบน้ำใช้ในการเคลื่อนที่ มีระบบไหลเวียน ระบบประสาท และระบบท่อทางเดินอาหาร จำแนกเป็นห้าชั้น พวกเดียวกันในไฟลั่มนี้ก็พวก เม่นทะเล ปลิงทะเล

- หมึก จัดอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) เป็นจำพวกเดียวกับหอยค่ะ คือมีลำตัวนิ่ม แต่เสียเปรียบสุด หอยยังมีเปลือกแข็งอ่ะ หมึกก็มีนะคะ แต่ดั๊นไปอยู่ข้างใน แค่จับขึ้นมาโดนแดดก็ตายแล้ว..

แต่เราก็เรียกปลา 5 อย่างนี้ว่าปลามาตลอดนะคะ เห็นอยู่ในน้ำ บางตัวก็รูปร่างก็เป็นปลา บางตัวก็เห็นเค้าเรียกกันมาตั้งแต่เด็ก แต่ถ้าได้เรียนวิชาชีววิทยาแล้วละก็ ก็จะได้รู้จักเจ้าพวกนี้มากขึ้น เหมือนเราได้เรียนรู้อะไรมากขึ้น สิ่งที่เราได้ยินได้ฟังมาตลอด บางครั้งก็ไม่ถูกต้องเสมอไป


อ่านต่อ : http://www.dek-d.com/content/education/20139/ปลา-ชีววิทยา-ไฟลั่ม.php#ixzz1CcUoVjQE

เรื่องของชั้น.....สำคัญต่อโลก




ชั้นบรรยากาศของโลกเรา ยังแบ่งได้เป็น 5 ชั้นอีกนะคะ คือ

1.โทรโพสเฟียร์ (Troposphere) ระยะความสูงจากพื้นโลกของบรรยากาศชั้นนี้ จะอยู่ที่ 0-15 กิโลเมตรเนหือระดับน้ำทะเลค่ะ เป็นชั้นบรรยากาศล่างสุดเลยหล่ะ สภาพโดยทั่วไปไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกันตลอด จะปั่นป่วน วุ่นวายตลอดเวลา ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางอุณหภูมิ ความชื้น ความดัน และอื่น ๆ อยู่ตอลด

2.สตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) เป็นบริเวณถัดจากชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไปจนถึงความสูง 50 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล เป็นชั้นบรรยากาศที่ค่อนข้างคกที่ ไม่ค่อยจะเปลี่ยนแปลงนัก และยังเป็นชั้นที่มี โอโซนอยู่ด้วย (O3) ซึ่งเจ้าโอโซนนี้ก็จะทำหน้าที่ดูดซึมรังสีอัตราไวโอเลต(UV)จากดวงอาทิตย์ไว้อีกด้วย ว้าวๆ ไม่งั้นพวกเราคงดำกว่านี้แน่เลย

3.เมสโซสเฟียร์ (Mesosphere) ถัดจากชั้นสตราโตสเฟียร์ไปจนถึงความสูง 80-85 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล และยังเป็นชั้นที่ฝนดาวตก (meteors) ส่วนใหญ่เผาไหม้หมดเมื่อเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกด้วยค่ะ

4.เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere) เป็นชั้นที่ถัดจากเมสโซสเฟียร์ไปจนถึงความสูงประมาณ 600 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล (จ๊าก สูงขึ้นไปอีก) เป็นชั้นสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) โคจรรอบโลกอยู่ที่ความสูง 320 – 380 กิโลเมตรค่ะ โอ้ๆ เราได้รู้เรื่องอวกาศมากขึ้น ก็จากสถานีแห่งนี้หล่ะค่ะ

5.เอ็กโซสเฟียร์ (Exosphere) เป็นบรรยากาศชั้นนอกสุดของโลกเป็นรอยต่อระหว่างชั้นบรรยากาศของโลกและอวกาศแล้วค่ะ แต่มีขอบเขตแบ่งระหว่างชั้นบรรยากาศและอวกาศที่ไม่ชัดเจน บรรยากาศชั้นนี้ประกอบไปด้วยแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นหลัก พี่แนนว่า เราหายใจกันไม่ได้ตั้งแต่บรรยากาศชั้น 2 แล้วหล่ะมั้งนั่น



อ่านต่อ : http://www.dek-d.com/content/education/20639/เรื่องของชั้น..สำคัญต่อโลก.php#ixzz1CcUBl1Hp

หวานผ่าซาก....ต้องระวัง!!!


พูดถึงความหวาน สิ่งที่สร้างรสชตินี้ขึ้นมา ก็คือ น้ำตาล ค่ะ ซึ่งน้ำตาลเองก็มีอยู่หลายชนิด ทั้งน้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลกรวด น้ำตาลก้อน เรียกว่าทั่วบ้านเมืองอยากจะให้อาหารมีรสหวาน ก็ต้องใช้เจ้าน้ำตาลนี่หล่ะ เป็นวัตถุดิบที่มีติดเกือบทุกบ้าน ร้านอาหารก็ต้องมี ใส่เล็กน้อยพอเพิ่มรสชาติ ใส่มากจะกลายเป็นเชื่อม หวานปี๊กันเลยทีเดียว

น้ำตาล ในทางเคมีเป็นสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต แบ่งได้อีกค่ะ ตามโครงสร้างโมเลกุล เป็น 3 กลุ่ม คือ

1.น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (Monosaccharide) เป็นชนิดของน้ำตาลที่มีโมเลกุลเล็กที่สุด ร่างกายย่อยไม่ได้อีก กินเข้าไปแล้วไม่ต้องผ่านการย่อย มีสูตรทั่วไปคือ CH2O การเรียนชื่อของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวจะเรียกตามจำนวนอะตอมของคาร์บอน แล้วลงท้ายด้วย โอ_ส เช่น กลูโคส ฟรักโทส กาแล็กโทส เป็นต้น

2.น้ำตาลโมเลกุลคู่ (Disaccharide) เกิดจากน้ำตาลโทเลกุลเดี่ยว 2-10 โมเลกุล มารวมตัวกันด้วยพันธะไกลโคซิดิก (glycosidic bond) ซึ่งอาจเป็นชนิดเดียวกัน หรือต่างชนิดกันก็ได้ ได้แก่ ซูโครส ที่รู้จักกันดี ก็คือ น้ำตาลทรายนั่นเองค่ะ แล้วยังพบได้ในอ้อย ตาล มะพร้าว น้ำผึ้ง ฯลฯ นอกจากนี้ก็ยังมี มอลโทส แล็กโทส

3.น้ำตาลโมเลกุลซ้อน (Polysaccharide) เป็นการจับตัวกันของโมเลกุลน้ำตาล มากกว่า 2 ตัวขึ้นไป พบมากในแป้งของธัญพืช และเผือกหัวมันต่างๆ ในสัตว์ คือ ไกลโคเจน

โอ้โห เรื่องหวานๆ จริงๆแล้วก็มีที่มาซับซ้อนนะคะ มีแบ่งประเภทได้อีก และยังมีประโยชน์ต่อร่างกายเรา แต่ถ้ากินมากไปก็เกิดโรคได้ อาทิ โรคอ้วน!!! ต้องกินกันอย่างระมัดระวังนะคะ



อ่านต่อ : http://www.dek-d.com/content/education/20566/หวานผ่าซาก...ต้องระวัง.php#ixzz1CcTx1xPC

10 ห้องโปรดในโรงเรียน ที่นักเรียนชอบเข้า


1.ห้องดนตรี - ห้องแห่งเสียงเพลงและทำนอง สำหรับคนที่เรียนวิชาดนตรี ในที่นี้มีทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากลนะคะ ห้องดนตรีสากล จะออกแนวบันเทิง เป็นแหล่งฝึกฝนวิชากันไป ส่วนห้องดนตรีไทย ก็ต้องสงบๆ และเคารพกันนิดหนึ่ง

2.ห้องศิลปะ - ห้องนี้สำหรับสร้างสรรค์จินตนาการค่ะ บรรยากาศก็จะอิสระนิดๆ คนที่ชอบวาดนั่นนี่ เข้าห้องนี้แล้วสุขสุดๆ หรือใครเก็บกดอารมณ์อะไรมา แอบมาติสท์แตกในนี้ ก็ถือว่าถูกทางนะคะ

3.ห้องคอมพิวเตอร์ - จะชอบมากเวลาพัก หรือเวลาว่าง เพราะชอบเข้าเน็ตมาดูข่าวสารความเคลื่อนไหว ดูรูป ดูคลิปนักร้องสุดที่รัก หรือเข้ามาหาสังคมออนไลน์คุณภาพอย่าง Dek.D.com เป็นต้น อิอิ

4.ห้องโสตทัศนศึกษา - เรียนสั้นๆว่าห้องโสตฯ สำหรับวิชาที่ต้องดูวิดิโอหรือมีฉายสไลด์ บางครั้งเวลาว่างก็อาจขออาจารย์มาเปิดดูหนังดูอะไรพักผ่อนได้บ้าง ยิ่งถ้ามีชุมนุมโสตฯด้วยละก็ จะเป็นชุมนุมที่คนเต็มไวที่สุดเลยไม่รู้ทำไม (แต่เรารู้กันใช่ไหม อิอิ)

5.ห้องพยาบาล - รู้สึกรุมๆ ตัวร้อนๆ ก็แวะไปห้องนี้สักหน่อย ได้กินยา หรือได้นอนพักในห้องนี้ แต่เห็นหลายคนอยากป่วย หรือทำตัวเหมือนป่วย ไปนอนบ่อยๆนะเนี่ย อิอิ


6.ห้องสมุด - ขึ้นชื่อว่าห้องสมุด ต้องรักษาความสงบเงียบอย่างเคร่งครัด เหมาะนักที่จะไปหาสมาธิ หลบลี้หนีจากผู้คน หรือแอบหลับตรงมุมชั้นวางหนังสือก็ยังได้ !!!

7.ห้องแลป - ห้องปฏิบัติการทางวิชาวิทยาศาสตร์ ดูน่าเรียนกว่าตอนจำสูตร จำสมการตั้งเยอะ

8.ห้องการงาน(ครัว) - โปรดสุดแล้วพี่น้อง ยิ่งห้องไหนมีวิชาการงานที่ต้องทำอาหาร พิฆาตคนทั้งโรงเรียนได้ด้วยกลิ่นอันหอมหวน จนอยากจะมาเกาะขอส่วนบุญ เอ้ยย ส่วนแบ่ง

9.ห้องแนะแนว - ห้องนี้จะได้รับความนิยมสูงสุดจากเด็ก ม.ปลายที่เตรียมแอดมิชชั่น เพราะต้องเข้าไปขอคำปรึกษาจากอาจารย์ในหลายๆเรื่อง บางครั้งก็ไม่ใช่เรื่องเรียนซะทีเดียว แต่เป็นเหมือนห้องปรึกษาปัญหาชีวิตของนักเรียนเลยหล่ะ

10.ห้องน้ำ - พลาดได้ยังไงห้องนี้ ประหนึ่งห้องแห่งสวรรค์ ถ้าไม่มี...ชีวิตนี้คงเศร้า พวกเราจะไปปลดทุกข์กันที่ไหน บางทีก็แอบไปตรวจความเรียบร้อยบนใบหน้า ส่องกระจก โบ๊ะแป้งแต่งหล่อ

อ่านต่อ : http://www.dek-d.com/content/education/20724/10-ห้องโปรดในโรงเรียน-ที่นักเรียนชอบเข้า.php#ixzz1CcRocXi7