วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

ยามเมื่อลม "พายุ" พัดหวน


พายุที่เกิดขึ้นมีหลายชนิดค่ะ ขึ้นอยู่กับความรุนแรง และลักษณะของการเกิด แบ่งได้เป็น

พายุหมุนเขตร้อน เป็นคำทั่ว ๆ ไปที่ใช้สำหรับเรียกพายุหมุนหรือพายุไซโคลน (cyclone) ที่มีถิ่นกำเนิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนแถบละติจูดต่ำ แต่อยู่นอกเขตบริเวณเส้นศูนย์สูตร พายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นได้หลายแห่งในโลก และมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิด บริเวณที่มีพายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นเป็นประจำ ได้แก่

มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก ทางตะวันตกของลองจิจูด 170 ํ ตะวันออก เมื่อมีกำลังแรงสูงสุด เรียกว่า "ไต้ฝุ่น" เกิดมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม สิงหาคม กันยายน และตุลาคม

มหาสมุทรอินเดีย เรียกว่า "ไซโคลน"

มหาสมุทรอินเดียเหนือ ทะเลอาระเบีย เรียกว่า "ไซโคลน"

มหาสมุทรอินเดียใต้ ตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปออสเตรเลีย เรียกว่า "วิลลี่วิลลี่"

ความรุนแรงของพายุ จะวัดจากความเร็วลมค่ะ ซึ่งในย่านมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก และทะเลจีนใต้มีการแบ่งตามข้อตกลงระหว่างประเทศดังนี้

พายุดีเปรสชั่น ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง 34 นอต (63 กม./ชม.)

พายุโซนร้อน 34 นอต (63 กม./ชม.) ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 64 นอต (118 กม./ชม.)

พายุไต้ฝุ่น ความเร็วลม 64 นอต (118 กม./ชม.) ขึ้นไป


เฮอริเคน

จะเกิดขึ้นบนมหาสมุทรแปซิฟิค มีหลายชื่อขึ้นกับความเร็วลม ซึ่งก็จะอ่อนกำลังลงตามลำดับเป็น พายุโซนร้อน และพายุดีเปรสชั่นค่ะ


พายุทอร์นาโด

เป็นพายุหมุนที่มีความรุนแรงที่สุดและอันตรายมากที่สุด ในบรรดาพายุหมุน โดยลมพัดรอบศูนย์กลางอาจมีความเร็วถึง 800 กม./ชม.(จ๊ากก) และมีลักษณะเด่นชัดคือ เป็นพายุที่ก่อตัวจากก้อนเมฆ และย้อยลงมาบนผืนดินในลักษณะเป็นกรวยเกลียว ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 50–500 เมตร แม้ว่าพายุชนิดนี้จะมีอายุไม่นานคือ เฉลี่ยประมาณ 1–2 ชั่วโมง แต่มีอำนาจการทำลายสูง สามารถกวาดยกบ้านเรือน รถยนต์ พายุนี้ส่วนใหญ่จะเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา

พายุฟ้าคะนอง

เกิดจากเมฆฝนฟ้าคะนอง ตรงไหนที่มีอากาศร้อน และมีความชื้น เกิดได้หมด พายุฟ้าคะนองมักจะทำให้มีลมแรง ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฝนหนักเกิดขึ้นพร้อมกัน ความรุนแรงก็ทำลายบ้านเรือน ต้นไม้พังได้เหมือนกันนะคะ

ส่วนใหญ่พวกเราคงเจอกันแต่ฝนฟ้าคะนองกันนะคะ แต่แค่นี้ก็จะแย่แล้ว ลองนึกถึงประเทศที่โดนเต็มๆ แล้ว ยังไม่รู้ว่าตัวเองจะรอดไหมนะคะเนี่ย แค่พี่แนนเจอลมพัดแรงๆตอนฝนตก ร่มพัดหงายเงิบแทนที่จะกันฝนได้ ตัวก็เปียกซะอย่างนั้น



อ่านต่อ : http://www.dek-d.com/content/education/21374/ยามเมื่อลม-พายุ-พัดหวน.php#ixzz1CcQTarLJ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น